39
ประชาสัมพันธ์และเชิญชวนใช้งาน ระบบประเมินความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน เตรียมความพร้อมสู่การเป็นแรงงานผู้สูงอายุ (OSH Self-Screening System for Elderly)
ลิ้งค์แบบประเมิน : https://eldery.tosh.or.th/
สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) ได้จัดทำ T-OSH Application : OSH Self-Screening System for prepare to elderly worker ระบบประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยด้วยตนเอง เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวเข้าสู่แรงงานผู้สูงอายุอย่างปลอดภัยขึ้นในรูปแบบ Web-Application ซึ่งสามารถใช้งานผ่าน Internet Browser ของท่านทั้งในคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเลต เพื่อประเมินความเสี่ยงและให้คำแนะนำเบื้องต้นป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานในแรงงานผู้สูงอายุ และส่งเสริมคุณค่าของผู้สูงอายุในการปฏิบัติงานอีกด้วย
T-OSH Application: ระบบประเมินความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน เตรียมความพร้อมสู่การเป็นแรงงานผู้สูงอายุ (OSH Self-Screening System for Elderly Worker) นี้เป็นเครื่องมือ Checklist สำหรับการประเมินความเสี่ยงในการทำงานของผู้สูงอายุ จัดทำขึ้นโดยสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) ถูกพัฒนาขึ้นร่วมกับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพัฒนาขึ้นเป็นระบบเว็บแอปพลิเคชันโดยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (TNI) เพื่อใช้สำหรับเป็นเครื่องมือในการประเมินความเสี่ยงในการทำงานของผู้สูงอายุเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้ผู้สูงอายุตระหนักถึงความเสี่ยงในการทำงาน เตรียมความพร้อมสำหรับผู้สูงอายุที่มีความประสงค์จะทำงานต่อนำไปพิจารณาตัดสินใจในการทำงานปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เอื้อต่อการทำงาน หรือดูแลร่างกายตามความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ระบบนี้เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป ที่มีความสนใจและต้องการที่จะทำงานต่อหลังจากการเกษียณอายุงาน
แบบประเมินนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่
Part A : ข้อมูลทั่วไป จำนวน 8 ข้อคำถาม
Part B : ความเสี่ยงในการทำงาน และลักษณะส่วนบุคคล จำนวน 11 ข้อคำถาม
Part C : ความเสี่ยงด้านภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพ ประกอบด้วย 6 ด้าน ประกอบด้วย ความเสี่ยงด้านกายภาพ ความเสี่ยงด้านชีวภาพ ความเสี่ยงด้านเคมี ความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ ความเสี่ยงด้านจิตสังคม และความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งหมด 30 ข้อคำถาม
โดยหลังจากการประเมินนี้จะแสดงระดับความเป็นอันตรายออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ความเสี่ยงต่ำ ความเสี่ยงปานกลาง ความเสี่ยงค่อนข้างสูง และความเสี่ยงสูงมาก หลังจากประเมินแล้วระบบจะแสดงข้อแนะนำที่เหมาะสมในการป้องกันการประสบอันตรายที่เกิดขึ้น