Background



ภาพกิจกรรม
การประชุมสัมมนาทางวิชาการสันนิบาตเทศบาลภาคใต้ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗
152
6 มีนาคม 2567

ระหว่างวันที่ 6-8 มีนาคม พ.ศ.2567 นายสุรพงศ์ มุขแก้ว นายกเทศมนตรีตำบลท่านา สมาชิกสภาเทศบาลตำบลท่านา หัวหน้าส่วนราชการ และ พนักงานเทศบาลตำบลท่านา เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด และร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการสันนิบาตเทศบาลภาคใต้ ครั้งที่ 1/2567 พร้อมด้วย นายวันชัย ปริญญาศิริ นายกเทศมนตรีนครสงขลา ร่วมกล่าวต้อนรับ และมี นายกเทศมนตรี คณะผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาเทศบาล หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ และพนักงานเทศบาลสันนิบาตเทศบาลภาคใต้ ของเทศบาลสมาชิก ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาฯ โดยมี นายรอเซ็ง ไหรเจริญ นายกเทศมนตรีตำบลเกาะแต้ว (ประธานสันนิบาตเทศบาลภาคใต้) กล่าวรายงาน นายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมสัมมนาฯ สันนิบาตเทศบาลภาคใต้ มีสมาชิกทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ รวมจำนวน 346 เทศบาล โดยมีหน้าที่หลักในการส่งเสริมการวิจัย การฝึกอบรม การประชุมหรือสัมมนาทางวิชาการ การบรรยายพิเศษ การศึกษาดูงาน และการพัฒนาคุณภาพการจัดบริการสาธารณะของเทศบาล ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือ และความสัมพันธ์อันดีระหว่าง เทศบาล พัฒนาระบบการเมืองท้องถิ่นด้วยระบบเทคโนโลยีใหม่ๆ สันนิบาตเทศบาลภาคใต้ โดยจัดขึ้น ณ ห้องสมิหลาแกรนด์บอลรูม โรงแรมบีพีสมิหลาบีช อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

รายละเอียดดังนี้

นายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาทางวิชาการสันนิบาตเทศบาลภาคใต้ ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 6 – 8 มีนาคม 2567 โดยมีนายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา นายวันชัย ปริญญาศิริ นายกเทศมนตรีนครสงขลา นายสมชาย รังสิวัฒนศักดิ์ นายกเทศมนตรีเมืองสนั่นรักษ์ ในฐานะนายกสมาคมสันนิบาติเทศบาลแห่งประเทศไทย ร่วมให้การต้อนรับ พร้อมทั้งมีหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบุคลากรของเทศบาลทุกระดับจาก 14 จังหวัดภาคใต้เข้าร่วมประชุมกว่า 2,000 คน ณ ห้องประชุมโรงแรมบีพี สมิหลาบีช อำเภอเมืองสงขลา

นายรอเช็ง ไหรเจริญ นายกเทศมนตรีตำบลเกาะแต้ว ในฐานะประธานสันนิบาตเทศบาลภาคใต้ กล่าวว่า สันนิบาตเทศบาลภาคใต้ มีสมาชิกทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ รวมจำนวน 346 เทศบาล โดยมีหน้าที่หลักในการส่งเสริมการวิจัย การฝึกอบรมการประชุมหรือสัมมนาทางวิชาการ การบรรยายพิเศษ การศึกษาดูงานและการพัฒนาคุณภาพ การจัดบริการสาธารณะของเทศบาล ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือ สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเทศบาล และพัฒนาระบบการเมืองท้องถิ่นด้วยระบบเทคโนโลยีใหม่ๆ

ทั้งนี้ สันนิบาตเทศบาลภาคใต้ จึงจัดโครงการประชุมดังกล่าวขึ้น เพื่อระดมความคิดเห็นและนำเสนอปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารและพัฒนาท้องถิ่น มากำหนดแนวทางและมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงาน พร้อมส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือ เสริมสร้างความสามัคคีและความสัมพันธ์อันดีระหว่างเทศบาล หน่วยงาน องค์กรอื่นๆ และยังเป็นการยกระดับด้านการบริการสาธารณะของเทศบาลให้มีมาตรฐาน โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ตลอดจนสร้างความพอใจให้แก่ประชาชนและพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญก้าวหน้า เป็นเมืองที่น่าอยู่อย่างยั่งยืน

โดยภายในงาน ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญมาเป็นวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับทิศทางการขับเคลื่อนสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย, บทบาทองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นด้านสุขภาพผ่านกองทุนสุขภาพตำบลและ LTC และเตรียมความพร้อมการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น พร้อมหลักเกณฑ์การจ่ายเงินสะสมใหม่ เป็นต้น

โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1. เพื่อระดมความคิดเห็นและนำเสนอปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารและพัฒนาท้องถิ่น มากำหนดแนวทางและมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงาน

2. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือ เสริมสร้างความสามัคคีและความสัมพันธ์อันดีระหว่างเทศบาล หน่วยงานและองค์กรอื่นๆ

3. เพื่อยกระดับด้านการบริการสาธารณะของเทศบาลให้มีมาตรฐาน โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ตลอดจนสร้างความพอใจให้แก่ประชาชน และพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญก้าวหน้า เป็นเมืองที่น่าอยู่อย่างยั่งยืน

4. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรม ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 1,000 คน ซึ่งประกอบด้วย นายกเทศมนตรี คณะผู้บริหารท้องถิ่น ประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล ปลัดเทศบาล และพนักงานเทศบาลสันนิบาตเทศบาลภาคใต้ ของเทศบาลสมาชิก การประชุมสัมมนาทางวิชาการในครั้งนี้ ประกอบด้วยการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าประชุม การจัดเวทีเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการเรียนรู้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อนำไปพัฒนาและปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ต่อไป